ข่าวและบทความ
วันสบาย กับ บ้านอยู่สบาย
สร้างบ้านให้สวย อยู่สบาย แต่คำนึงถึงทิศทางลม แสงแดด อุทกภัย ฟังก์ชั่นใช้งาน ไปพร้อม ๆ กัน อาจไม่ใช่เรื่องเล็ก
แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยาก...
บ้านหลังนี้ถูกออกแบบให้เสมือนเป็นบ้านพักตากอากาศ ภายใต้อากาศร้อนของเมืองไทย แต่ต้องอยู่อาศัยแบบที่เปิดแอร์น้อยที่สุดโดยไม่ร้อน จุดเด่นของบ้านนี้ คือ
-
บานหน้าต่างใหญ่ ดูโปร่ง อากาศถ่ายเทได้ดี
-
แสงสว่างเพียงพอเวลากลางวัน ไม่ต้องเปิดไฟ
-
ติดตั้งแผงบังแดดรอบบ้าน ป้องกันแดดและความร้อนส่องถึงตัวบ้านโดยตรง ลดอุณหภูมิในบ้าน
-
ช่องว่างระหว่างแผงบังแดด กับผนังภายนอกที่พอเพียง ช่วยให้ลมไหลเวียน ทำให้บ้านเย็น อยู่สบาย ลดการใช้แอร์
-
การจัดตำแหน่งของห้องต่าง ๆ คำนึงถึงสภาพอากาศ ในทิศของแดด และลมที่เหมาะสม
-
พื้นที่ถัดจากแผงบังแดด จะเป็นห้องน้ำ ระเบียง หรือลานซักล้าง เพื่อเป็นด่านชั้นที่สอง ที่ป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้าน ภายในบ้านจึงอยู่ได้จริงโดยไม่ต้องเปิดแอร์
-
ยกพื้นสูงขึ้น เพื่อมิติความสวยงาม ป้องกันความชื้นใต้พื้นดินที่อาจทำให้บ้านเสียหาย และป้องกันน้ำท่วม
-
ใช้โครงสร้างเหล็กและแผ่นบอร์ด ในการก่อสร้างทั้งหมด ประหยัดเวลา และค่าแรงงานในการก่อสร้าง
-
วัสดุที่ใช้ก่อสร้างทนทานต่อสภาพอากาศ ใช้งานภายนอกได้ดี และปลอดภัยจากปลวก
ทิศทางลม : หันหน้าบ้านไปทิศเหนือ ให้สัมพันธ์กับทิศทางลมและแสงแดด แสงแดดจะเข้าทางทิศเหนือไม่กี่เดือนต่อปี แต่ลมจะเข้าด้านหลังบ้านเกือบทั้งปี
ช่องลม : มีแผงบังแดดรอบตัวบ้าน จึงมีช่องลมระหว่างแผงบังแดดกับผนัง และมีบานหน้าต่างทั้งด้านหน้าและหลังบ้าน ทำให้มีช่องลมเข้า และช่องลมออก ให้ลมไหลเวียนเข้าบ้าน เป็นการระบายความร้อนด้วยวิธีธรรมชาติ
ทิศทางแดด : หันหน้าบ้าน ส่วนที่กว้างที่สุดของบ้านไปทางทิศเหนือ เพราะเป็นส่วนที่ได้รับผลกระทบจากแดดน้อยที่สุด /// ห้องนอนหลัก รับแดดยามเช้าทางทิศตะวันออก และไม่ร้อนในตอนกลางคืน /// ด้านแคบของตัวบ้าน ให้อยู่ทางทิศที่ได้รับแดดแรง หรือทิศตะวันตก /// หากมีข้อจำกัดของแปลนที่ดิน ให้ออกแบบโดยให้ห้องน้ำ ส่วนซักล้าง ที่จอดรถ แม้กระทั่งห้องครัว อยู่ด้านที่รับแดด เพื่อเป็นด่านป้องกันความร้อนอีกชั้นหนึ่ง กระทบกับผู้อยู่อาศัยน้อยที่สุด หรือ ทำชายคา และ แผงไม้บังแดด เพิ่มเติม และขาดไม่ได้ คือ ปลูกต้นไม้ สร้างความร่มรื่น เพิ่มทัศนียภาพ บรรยากาศที่ดียิ่งขึ้น ช่วยเพิ่มลมเย็นเข้าสู่ตัวบ้าน แต่ต้องไม่บังทางลม
ทิศตะวันตก
เป็นด้านที่ได้รับแสงแดดในช่วงบ่าย ซึ่งถือได้ว่าร้อนที่สุดของวัน แผงบังแดดในด้านนี้ จึงถูกออกแบบเพื่อป้องกันแสงแดดอย่างเต็มที่ ระยะห่างของไม้บังแดดมีขนาดเล็ก เพื่อป้องกันความร้อนจากภายนอกให้มากที่สุด เว้นระยะห่างของแผงบังแดดกับตัวบ้าน ให้ลมพัดผ่านได้โดยรอบ เพิ่มความเย็นสบายให้แก่ผู้อยู่อาศัยได้อีกทางหนึ่ง
วัสดุที่ใช้ : ไม้บังแดด และแผ่นผนังภายนอกวีว่า บอร์ด
ทิศตะวันออก
ด้าน “รับแสงอรุณ” ชั้นบนเป็นที่ตั้งของระเบียงภายนอกขนาดใหญ่ ชั้นล่างประกอบไปด้วยห้องอาหาร และลานซักล้างภายนอกในด้านหลัง
แผงบังแดดยังคงถูกนำมาใช้ แต่ถูกปรับเปลี่ยนให้มีลักษณะแบบ “แนวนอน” เพื่อเพิ่มความโปร่งสบายตาทั้งจากภายในและภายนอก แผงบังแดด’
วัสดุที่ใช้ : ไม้บังแดด ไม้ระแนง แผ่นผนังภายนอก และฝ้าเพดาน วีว่า บอร์ด
ทิศเหนือ
เป็นทิศที่ได้รับความร้อนจากแสงแดดน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับทิศอื่น จึงให้หน้าบ้านอยู่ทางทิศเหนือ โดยเป็นด้านที่มีบานกระจกขนาดใหญ่และเปิดโล่ง มีโถงขนาดใหญ่ด้านหน้า เป็นทางเข้าบ้าน และที่ตั้งของห้องนั่งเล่น
วัสดุที่ใช้ : ฝ้าเพดานวีว่า บอร์ด, ไม้พื้น วีว่า บอร์ด และผนังภายนอกวีว่า บอร์ด
ช่องว่างระหว่างแผงบังแดด และผนังภายนอกบ้าน เกิดเป็นช่องลม ที่ช่วยให้ลมไหลเวียน เพิ่มความเย็น อีกทั้งการปลูกต้นไม้ในช่องลมนี้ ยังช่วยให้ลมที่ไหลเวียนเป็นลมเย็นอีกด้วย
ผู้ออกแบบ : คุณ Piyaphan Thanasophon
ที่ตั้ง : โรงงานวีว่า บอร์ด จังหวัดฉะเชิงเทรา